โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

      

     ที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงคำว่า “โลจิสติกส์(Logistics)” และ “โซ่อุปทาน(Supply Chain)” อยู่บ้างจนอาจทำให้ผู้อ่านหลายคนสงสัยว่าคำสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร ที่จริงแล้วเราอาจกล่าวได้ว่าโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้นแทบจะแยกกันไม่ออก และถ้าหากจะอธิบายคำสองคำนี้ก็คงต้องเริ่มต้นจากภาพกว้าง ๆ กันก่อนด้วยทฤษฎี Value Chain หรือห่วงโซ่คุณค่า

    

     Michael E. Porter ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างห่วงโซ่คุณค่า(Value Chain)ของบริษัทเพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันว่าเราสามารถแบ่ง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าได้เป็นสองส่วนด้วยกันคือกิจกรรม หลัก(Primary Activities) และกิจกรรมสนัสนุน(SupportActivities)ดังที่เราจะเห็นได้ในภาพ 

 

ภาพ 1.1 ห่วงโซ่คุณค่า


 

1. กิจกรรมหลัก(Primary Activities: Line Functions)

     กิจกรรมหลักจะประกอบด้วยการก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าตลอด กระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการรับเข้า การผลิต การจัดส่งสินค้า การตลาด และบริการหลังการขาย

 

o Inbound Logistics เป็นกิจกรรมที่มีการนำวัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่จะใช้สำหรับการผลิตเข้ามา เพื่อทำการเตรียมความพร้อม ประกอบไปด้วยการรับเข้า การจัดเก็บ และการวางแผนการผลิต ยกตัวอย่างในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Inbound Logistics คือการรับชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้ามาเพื่อประกอบให้เป็นคอมพิวเตอร์ขั้นตอนต่อไป

o Operations เป็นขั้นตอนของการผลิตสินค้าและรวมถึงทุกกระบวนการในการเปลี่ยนสภาพของวัตถุ ดิบหรือส่วนประกอบดังกล่าวเป็นสินค้าหรือ Final Product ในที่นี้ก็คือการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ กิจกรรมดังกล่าวยังรวมไปถึง การบรรจุหีบห่อ การควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ตรงตามมาตรฐานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

o Outbound Logistics คือการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าสู่ผู้ซื้อ สำหรับตัวอย่างนี้ก็คือการจัดเก็บเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้ประกอบและผลิต แล้วในคลังสินค้า และการจัดส่งสินค้าให้กับผู้แทนจำหน่าย

o Marketing and Sales คือกระบวนการของการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และสนองความต้องการเพื่อให้บริษัทสามารถขายสินค้าได้ สร้างรายได้ให้กับบริษัท

o After- Sale Services ขั้นตอนหลังการขายสินค้าแล้วบริษัทจะต้องมีบริการหลังการขายเพื่อสร้างความ พึงพอใจให้กับลูกค้า และเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการขายครั้งต่อไป เช่นการรับประกันสินค้า บริการตรวจสอบและซ่อมแซม ศูนย์บริการเป็นต้น


2. กิจกรรมสนับสนุน(Support Activities)

     กิจกรรมสนับสนุนคือกิจกรรมที่จะช่วยให้กิจกรรมหลักดำเนินอย่างราบรื่นประกอบด้วย

 

o Firm infrastructure คือกิจกรรมหลัก ๆ ที่บริษัทจำเป็นต้องมี เช่นการบริหารการเงิน การวางแผนกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหารจัดการ เป็นต้น

o Human Resources Management การคัดเลือกและพัฒนาบุคลากรในองค์กร รวมถึงการบริหารจัดการทั้งหมดเกี่ยวกับบุคลากรเช่นนโยบายการจ้างงานและการ บริหารค่าตอบแทน

o Technology Development ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนการดำเนินการของกิจกรรมหลักทั้งหมด เช่นระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง

o Procurement การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักรสำหรับการผลิต เมื่อแต่ละบริษัทมี Value Chain ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและความสามารถทางการแข่งขันเป็นของตัวเอง แล้ว เราจะมามองภาพที่กว้างกว่านั้นไปยังคู่ค้าและลูกค้าของเราด้วยซึ่งจะได้แสดง ตามภาพ1.2 ต่อไปนี้

 

ภาพ 1.2 ห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทาน

 

 

     ภาพ1.2 แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ โรงงาน ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมี Value Chain เป็นของตัวเอง ประกอบเป็น Supply Chain ทั้งระบบที่เชื่อมต่อกัน

    

     การไหลของวัตถุดิบ(Material Flow)จะเริ่มจากผู้ผลิตวัตถุดิบและเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ จนเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งไปยังลูกค้า ในขณะที่เงินหรือผลตอบแทนจากการขายสินค้า(Financial Flow)จะเคลื่อนที่จากผู้ซื้อขั้นสุดท้ายจนถึงผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นแรก ระหว่างนั้นจะมีการไหลของข้อมูล(Information Flow) ทั้งไปและกลับ เช่นข้อมูลของสินค้า ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตามที่ได้แสดงให้เห็นเป็นลูกศรด้านบนและด้านล่าง

    

     กิจกรรมโลจิสติกส์เป็น กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานโดยแต่ละคนหรือแต่ละบริษัทก็จะมีกิจกร รมโลจิสติกส์เป็นของตนเอง ถ้าเรานำรูปภาพข้างต้นมาพิจารณากิจกรรมโลจิสติกส์ของแต่ละส่วนก็จะแสดงได้ ดังนี้

 

 

ภาพ 1.3: กิจกรรมโลจิสติกส์ของแต่ละส่วนของโซ่อุปทาน

 

 


     เมื่อมองกิจกรรม โลจิสติกส์ของผู้ผลิต(Logistics of Manufacturer) ในกรอบไข่ปลาเล็กด้านซ้าย เราจะเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์เริ่มจากการรับส่วนประกอบหรือวัตถุ ดิบจาก Suppliers เข้ามาเพื่อทำการผลิตสินค้า จนถึงการส่งสินค้าที่ผลิตเรียบร้อยแล้วสู่คลังกระจายสินค้า(Distribution Center) โลจิสติกส์ของผู้กระจายสินค้า(Logistics of Distribution Center) ในกรอบเส้นไข่ปลาใหญ่ เริ่มตั้งแต่การรับสินค้าจากโรงงาน การบริหารจัดการกระจายสินค้า และการส่งสินค้าไปยังผู้ค้าส่ง ส่วนโลจิสติกส์สำหรับผู้ค้าปลีก(Logistics of Retailer) นับตั้งแต่ผู้ค้าส่งส่งของไปยังชั้นโชว์ของผู้ค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภคไปเลือกซื้อมา

    

     จะเห็นได้ว่าระบบ โลจิสติกส์เป็นเสมือนภาพตัดส่วนหนึ่งของโซ่อุปทาน แล้วแต่ว่าเราจะตัดเอาส่วนไหนมาดู ดังนั้นการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารงานในขั้นต้นจะต้องดูที่ภาพ โลจิสติกส์ในแต่ละส่วนก่อน แต่ถ้าต้องการจะปรับปรุงประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้นไปอีก จะต้องมองตลอดห่วงโซ่อุปทาน ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมมือกัน สื่อสารกันให้เข้าใจ และพร้อมใจกันปรับปรุง จะทำให้สามารถลดต้นทุนได้อย่างถึงที่สุด ดังที่มีตัวอย่างมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ หรืออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เป็นต้น

    

     โลจิสติกส์ เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจาก ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค รวมถึงขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บสินค้าคงคลังด้วย ดังนั้น ทั้ง Logistics และ Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ยากที่จะแยกแยะ โดย Robert B. Handfield ได้กล่าวว่า “The scope of the logistics strategy is now the entire supply chain” โดยหากเทียบกับร่างกายเป็น Supply Chain แล้ว หัวใจและเส้นเลือดก็อาจเปรียบเสมือนกับ Logistics โดยมีสมองเป็นศูนย์ ควบคุม ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับระบบ IT นั่นเอง ดังนั้นในกระบวนการค้าปัจจุบัน โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานจะต้องไปด้วยกันหรือควบคู่กันเสมอ แต่ก็ใช่ว่าจะ กลมกลืนเป็นส่วนเดียวกันที่เดียว เพราะหากจะมองในอีกมิติแล้วจะพบว่าโดยเนื้อแท้แล้วต่างก็เป็นกิจกรรมคนละ ส่วน ต่างมีหน้าที่และดำเนินกิจกรรมที่เป็นการเฉพาะตัว เพียงแต่ว่านำบทบาทของทั้งสองกิจกรรมมาต่อเชื่อมกันเป็นบูรณาการ (Integration) คือเป็นแบบบูรณาการคล้ายกับการ Merge รวมบริษัท 2 บริษัทไว้ด้วยกัน โดยแต่ละบริษัทฯ ก็ยังดำเนินธุรกิจของตนเอง ดังนั้นอาจมีผู้เข้าใจผิดว่าหากจะพูดถึง Supply Chain ก็ใช่ว่าจะพูดถึง Logistics ในลักษณะที่แยกส่วนไม่ได้ ในบางตำราอาจไม่ยอมรับให้มีการแยกจัดการ Logistics ออกมาจาก Supply Chain Management แต่ทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน มีมุมมองว่า ถึงแม้ว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเป็นเรื่องของบูรณาการ (Integration) แต่การที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงนั้น ก็จะต้องทำความเข้าใจกิจกรรมของ Logistics ในลักษณะที่แยกส่วน คือ ให้เห็นความแตกต่างของ Logistics กับ Supply Chain ให้ชัดเจนก่อน คือ อยากจะให้มอง Supply Chain ที่เป็นกระบวนการในการจัดการเพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตและกระบวนการทางการ ตลาด โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดต้นทุนรวมและให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและ บริการ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นในระหว่างองค์กร จำเป็นที่จะต้องอาศัยเครือข่ายและการกระจายต้นทุน ที่เรียกว่า Cost Sharing ดังนั้น Supply Chain จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรวมพลังและความร่วมมือ ทั้งในแต่ละกระบวนการภายในองค์กรและต่างองค์กร ที่เรียกว่า Synergy ซึ่งกิจกรรมของ Supply Chain จึงต้องอาศัยผู้ให้บริการภายนอก (Outsources) หรือ Logistics Provider ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการแต่ละกระบวนการของ Supply Chain จะถูกเชื่อม โดยกิจกรรมของ Logistics ในการส่งต่อและการเปลี่ยนมือในการเป็นเจ้าของสินค้า (ชั่วขณะหนึ่ง) โดยกิจกรรมต่างๆนั้นจะมีการขับเคลื่อนเป็นแบบพลวัตร เพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานเป็นห่วงโซ่ที่เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงวงแหวน แบบบูรณาการได้อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่า หน้าที่หลักของ Logistics จึงเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมที่เน้นการส่งต่อของสินค้าและบริการ จึงเป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย (Moving) การให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบและการกระจายซึ่งสินค้าและบริการจนถึงผู้รับหน่วย สุดท้าย โดยทั้งโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็ล้วนมีไว้เพิ่มให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูง สุดและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน (Core Competency) ดังนั้นทางโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จะมีความสัมพันธ์กันและโดยข้อเท็จจริงก็ยากที่จะแยกจากกัน

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  3,836
Today:  2
PageView/Month:  32

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com