กิจกรรมโลจิสติกส์แบบบูรณาการ (Logistics Activity Of Integration )

     กิจกรรมด้านโลจิสติกส์แบบบูรณาการ(Logistics Activity of Integration)ประกอบด้วยหลาย ๆ กิจกรรมและกิจกรรมนั้นๆต้องสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมในการดำเนินงานให้มี มาตรฐานของจัดการเดียวกันความเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นในLogistics คือ การที่ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานนั้นและมีแนวคิดเดียวกันในการจัดการ ด้านเวลาและสถานที่ซึ่งในทุกกิจกรรมของการไหลระหว่างกระบวนการในกิจกรรมโลจิสติกส์

 

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์จะประกอบด้วยหลายกิจกรรม ดังนี้

     1) การบริการลูกค้า (Customer Service) การให้บริการลูกค้าไม่ใช้เป็นเพียงแค่กิจกรรมแต่เป็นผลกระทบต่อกิจกรรมอื่นๆ ของโลจิสติกส์ การตัดสินใจทั้งหมดเกี่ยวกับ โลจิสติกส์ มาจากความต้องที่จะให้บริการเพื่อลูกค้า ฉะนั้นแล้วงานให้บริการลูกค้าจึงเป็นกิจกรรมที่เป็นแรงผลักดันให้เกิด กิจกรรมอื่น เช่น การขนถ่ายบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง เป็นต้น การให้บริการต้องทําให้เกิดความพึงพอใจ เกิดความประทับใจในทุก ๆ ด้าน ดังนี้

• การขนส่งสินค้าปริมาณถูกต้อง (Right Quantity )

• สินค้าส่งในคุณภาพที่ถูกต้อง (Right Quality )

• สินค้าส่งในสถานที่ถูกต้อง (Right Place)

• สินค้าส่งในเวลาที่ถูกต้อง และทันเวลาที่กําหนด (Right Time )

• สินค้าส่งถูกลูกค้า (Right Customer)

• สินค้าส่งในราคาที่เหมาะสม (Right Price)

• สินค้าส่งโดยมีต้นทุนต่ำที่สุด (Right Cost )

 

     2) การขนส่งและการจราจร (Transportation and Traffic) เป็นการเคลื่อนย้ายตั้งแต่วัตถุดิบและสินค้าไปยังเครือข่าย ขนส่งต่าง ๆ กิจกรรมด้านขนส่งเป็นการเลือกวิธีการขนส่งสินค้า เช่น การขนส่งทางรถยนต์ , การขนส่งทางรถไฟ , การขนส่งทางอากาศหรือเครื่องบิน ,การขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ , การขนส่งทางท่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยบริการที่รวดเร็ว และส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัยในปริมาณที่ครบถ้วนมีสภาพสมบูรณ์ และตรงตามเวลาที่กําหนด

 

     3) การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการวางแผนกับการปฏิบัติการสินค้าคงคลังเป็นตัวที่ รองรับในระบบการให้บริการลูกค้า โดยจากลูกค้าภายในบริษัท คือ สนับสนุนการผลิตแก่โรงงาน (Inbound Customers) หรือสนับสนุนการตลาดจากโรงงานไปยังลูกค้า (Outbound Customer) สินค้าคงคลังมีความจําเป็น เพราะมีความไม่แน่นอนจากความต้องการของลูกค้า ดังนั้นระดับสินค้าคงคลังที่ดีที่สุดจะต้องมีขั้นตอนการดําเนินการที่ทราบ ว่าจะมีสินค้าคงคลัง ณ.ที่ใดบ้าง เมื่อใดจะส่งสินค้ามาเติมเต็มกรณีสินค้าในคลังลดลง และในปริมาณเท่าใด จึงจําเป็นต้องมีการควบคุมสินค้าคงเพื่อรักษาระดับการให้บริการและความต้อง การของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงการผลิต กิจกรรมการจัดการสินค้าคงคลังนี้จึงเป็นระบบต้นทุนสินค้าที่เกิดจากการถือ ครอบครองสินค้าของ บริษัท ถ้ามีการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสมจะลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้อย่างมาก

 

     4) การประมวลคําสั่งซื้อ (Order Processing) เกี่ยวข้องกับคําสั่งซื้อจากลูกค้า ในการสอบถามและคูสั่งซื้อจากลูกค้า ซึ่งลูกค้าอาจทําการสั่งซื้อสินค้าโดยใช้โทรศัพท์ อีเมล์ โทรสาร หรือการส่ง เอกสารผ่นระบบ EDI (Electronic Data Interchange : EDI) การตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการด้านต่าง ๆ ในกระบวนการ และการให้ความมั่นใจในการจัดส่งให้ลูกค้า กิจกรรมการดำเนินการคำสั่งซื้อ เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อโลจิสติกส์ เพราะการดําเนินการสั่งซื้อมี ผลต่อรอบเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) จนถึงการจัดส่งสินค้า โดยเริ่มจากวันที่รับคำสั่งซื้อลูกค้าจนถึงวันที่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ ลูกค้า จึงควรดําเนินการให้รวดเร็วที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งสามารถนําระบบ คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศและการจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ กระบวนการดำเนิน การคำสั่งซื้อที่ดีต้องสามารถลดรอบเวลา Lead Time การส่งมอบสินค้าเพื่อให้ต้นทุนต่ำ ด้วยการลดความต้องการเกี่ยวกับเวลาในการจัดส่งสินค้าของลูกค้าลง นั่นหมายถึงความสามารถทำให้เกิดการได้อย่างรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและมี ประสิทธิภาพสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

 

     5) การสื่อสารในการกระจายสินค้า (Logistics Communication) ระบบสารสนเทศเป็นกิจกรรมที่ทําให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ เป็นกิจกรรมการสื่อสารภายในบริษัทผู้จําหน่ายวัตถุดิบและลูกค้า การสื่อสารจากผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าจึงจําเป็นต้องเป็นไป รวดเร็ว ชัดเจน ถูกต้องแน่นอน ในเวลาจริง (Real time) รวมทั้งการควบคุมสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เช่น การนําระบบ Electronic Data Interchange (EDI) เข้ามาช่วยแล้วจะเป็นหลักการที่จะทำให้การจัดการโลจิสติกส์สามารถที่จะ เชื่อม โยงการสื่อสารภายในบริษัทและลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

     6) การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Customer Demand Forecasting) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายในบริษัท โดยเฉพาะฝ่ายการตลาดจะเป็นฝ่ายแรกที่เกี่ยวข้องในการพยากรณ์ยอดขาย โดยจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบในกิจกรรมโฆษณาทั้งปีกลยุทธ์ราคา า และความพยายามในการเพิ่มยอดขายโรงงานจะพยากรณ์เกี่ยวกับกําหนดการผลิต การวางแผนความต้องการพัสดุ (Material Requirement Planning : MRP) และการส่งแบบทันเวลาพอดี (Just in Time : JIT) โลจิสติกส์ การพยากรณ์จากทั้งสองฝ่ายเพื่อหาสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และทําเลที่ตั้งในการจัด เก็บสินค้าคงคลัง เพื่อส่งไปยังโรงงานและลูกค้า

 

     7) คลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage) โดยการจัดการคลังสินค้าหมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อน ย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้าบรรลุตามวัตถุประสงค์ คลังสินค้าและการจัดเก็บจึงรองรับความต้องการในการเก็บสินค้า โดยมี การกําหนดพื้นที่ที่ตามความต้องการ การวางผังเนื้อที่การจัดเก็บในคลังสินค้า การออกแบบท่าขนถ่ายสินค้าเพื่อจัดเตรียมสินค้า ข้อกําหนดระเบียบปฏิบัติในคลังสินค้า การเติมและสร้างสต๊อกทดแทน กิจกรรมนี้จึงกล่าวได้ว่า เป็นการนําข้อมูลจากกิจกรรมในการปฏิบัติงานในคลังสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจ เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง คลังสินค้าอาจมีหลายรูปแบบ เช่น ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC)

 

     8) การเลือกสถานที่ก่อสร้างคลังสินค้าและโรงงาน (Selection Location and Construction Warehouses and Factories.) การเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า เพื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่าง ๆ ของโลจิสติกส์ เมื่อมีการเปลี่ยนตําแหน่ง ที่ตั้ง จะทําให้เกิดผลกระทบต่อระยะเวลาในการเดินทาง อัตราค่าขนส่งจากแหล่งผลิตสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง ระดับการให้บริการแก่ลูกค้าและต้นทุนด้าน Logistics โดยต้องให้ความสําคัญกับความใกล้–ไกลของแหล่งวัตถุดิบและลูกค้า เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดซื้อวัสดุได้ง่าย ดังนั้นในการเลือกสถานที่คลังสินค้าและโรงงานจึงจําเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ ฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด

 

     9) การเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling) การออกแบบผังโรงงานหรือคลังสินค้าที่ดีที่สุดคือ การมีระยะทางของการขนถ่ายวัสดุระหว่างกิจกรรมหรือระหว่างหน่วยงานน้อยที่สุด การเคลื่อนย้ายในที่นี้ รวมถึงการ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต สินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต และ สินค้าสําเร็จรูป ภายในโรงงานและคลังสินค้า เช่น การเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าคลังสินค้าเพื่อจัดเ ก็บ การเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าเพื่อการจัดส่งสินค้า ในเคลื่อนย้ายภายในคลังสินค้า สิ่งที่ควรคํานึงการเคลื่อนย้ายสินค้า คือ ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายจากการเคลื่อนย้าย การเลือกอุปกรณในระบบ โลจิสติกส์มาใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้า นโยบายการทดแทนอุปกรณ์ กระบวนการเลือกหน่วยสินค้า การจัดเก็บ และ การนําออกของสต๊อก ทั้งนี้เพื่อทําให้เกิดการลดต้นทุนจึงเป็นเป้าหมายของการจัดการโลจิสติกส์

 

     10) การจัดซื้อ (Purchasing) มีความสำคัญต่อองค์กรธรุกิจ การจัดซื้อเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดซื้อของบริษัทดําเนินการ เพื่อสนองความต้องการวัตถุดิบและบริการจัดส่งอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการไหลต่อเนื่องทั้งใน สายการผลิตและการกระจายสินค้า ระบบการจัดซื้อจะเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกแหล่งสินค้า จัดจ้าง เวลาในการจัดซื้อ การว่าจ้าง และปริมาณการจัดซื้อ กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับต้นทุนทั้งหมดของโลจิสติกส์ในระดับการให้บริการ จํานวนของสินค้า และความถี่ในการสั่งซื้อกระทบต่อระดับสินค้าคงคลัง เทคนิคการจัดซื้อที่มีการนิยมมีหลายรูปแบบ เช่น เทคนิค ABC Analysis หรือเทคนิค 80/20 (Pareto Analysis) ของพาเรโต ส่วนแหล่งที่ตั้งของผู้ขาย ( Supplier ) วัตถุดิบหรือสินค้า มีผลต่อต้นทุนจากการขนส่ง กิจกรรมนี้รับผิดชอบ โดยฝ่ายจัดซื้อขององค์กร

 

     11) การสนับสนุนอะไหล่และการบริการ (Part and Service Support) กิจกรรมโลจิสติกส์ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนชิ้นส่วนอะไหล่ และการบริการซ่อมบำรุงที่มีความจำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่ใช้การบริการหลังการขายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด และสนับสนุนการผลิตสินค้าในตลาด การจัดหาวัสดุชิ้นส่วนทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาจมีผู้จัดส่งสินค้า (Supplier) หลายรายหรือรายเดียวหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของการสนับสนุนอะไหล่และ การบริการ (Part and Service Support) เป็นกระบวนการที่จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มี คุณภาพตรงตามต้องการ สนับสนุนชิ้นส่วนต่าง ๆ และบริการซ่อมบํารุงผลิตภัณฑ์ที่ใช้การบริการ หลังการขายและการบริการที่มีความพร้อมและรวดเร็ว เมื่อเครื่องจักรเกิดชํารุดเสียหาย เพื่อป้องกันไม่ให้สายการผลิตต้องหยุดชะงัก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ดังนั้นจะพบว่าผลิตภัณฑ์ที่จัดหา อะไหล่ยาก จะมีคนใช้น้อย ดังนั้นการจัดหาจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและคุณภาพของการให้บริการ

 

     12) การบรรจุหีบห่อ (Packaging) หมายถึง วัสดุภายนอกที่ทำหน้าที่ปกป้องผลิตภัณฑ์ หรือ ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เพื่อประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้า ป้องกัน การแตกหักเสียหายขณะเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ การตลาดให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ เพราะสามารถใช้เป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นได้ง่ายและถูกใจ และสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ของเครื่องสำอางค์ น้ำหอม นม ฯลฯ ซึ่งถ้าบรรจุภัณฑ์มีการออกแบบได้ตามความต้องการของกลุ่มตลาดแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในตลาดได้ การบรรจุภัณฑ์นั้นมีความสําคัญต่อระบบโลจิสติกส์ด้านค้าใช้จ่าย

 

     13) การกําจัดของเสีย ของเสีย หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตผิดพลาดรวมถึงการสูญเสียจากการเคลื่อนย้าย ในการเกิดของเสียบางครั้งอาจจะเกิดจาก วิธีการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้วัตถุดิที่ใช้ในการผลิตเกิดความเสียหาย รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่ไม่ดีจึงส่งผลต่อความเสียหาย ในปัจจุบันการนําวัตถุดิบที่เสียหายหรือใช้แล้วมาใช้ใหม่จะ ทําให้เกิดการกําจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพและเกิดมูลค่าเพิ่มใน อุตสาหกรรม

 

     14) การเคลื่อนย้ายที่ส่งคืน (Reverse Logistics) เป็นการสนับสนุนกิจกรรมในระบบ Logistics เป็นการไหลของสินค้าที่มีทิศทางย้อนกับกับการไหลของสินค้า ในที่นี้หมายถึงการส่งคือสินค้าให้กับผู้ขายวัตถุดิบหรือสินค้าซึ่งส่วนมาก เกิดจากสินค้ามีข้อบกพร่อง หรือ การนำสินค้าไปทดแทน รวมถึงการคืนบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง เช่น พาเลท ( Pallet ) กล่อง ( Carton ) ตู้คอนเทนเนอร์ ( Container ) เพราะทั่วโลกให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนและให้ความสนใส่ใจกับสิ่งแวด ล้อมเพิ่มมากขึ้น การคืน การทำลาย หรือนำกลับมาใช้ของวัสดุที่ใช้วางสินค้า เช่น พาเลท กล่องพลาสติก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยการคืนหรือนำกลับมาใช้ไม่มีต้นทุนโลจิสติกส์มากนัก ความสำคัญของการเคลื่อนย้ายที่ส่งคืน (Reverse Logistics) การนำ กลับคืนมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น พาเลท สามารถนำกลับมาเพื่อใช้หมุนเวียนใช้วางวัตถุดิบหรือสินค้าการนำกลับคืนส่วน ที่มีมูลค่าการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด , ทำให้ลดค่าใช้จ่ายโดยนำมารีไซเคิลได้การสนับสนุนข้อกฏหมาย ฉะนั้นแล้วการรับคืนหรือสินค้าเที่ยวกลับ Reverse Logistics เป็นการลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้อีกทางหนึ่ง

 

     15) การวางแผนการผลิต (Processing Plan) จะเกี่ยวกับการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นของบริษัท เช่น การวางแผนดำเนินงาน การจัดตารางการผลิต โดยเริ่มจากการพยากรณ์และการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า จะถูกนำมาจัดทำเป็นแผนการในการวางแผนงานด้านต่าง ๆ เช่น วางแผนการใช้แรงงาน วางแผนการสั่งซื้อและการใช้วัตุดิบ วางแผนการใช้อุปกรณ์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การวางแผนจะเกี่ยวข้องกับเวลาในการผลิตของสินค้าพิเศษที่มีความสำคัญ ในกรณีที่บริษัทมีการผลิตสินค้าหลายชนิดที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรร่วมกัน กิจกรรมนี้บริหารโดยฝ่ายผลิต เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตมีอย่างเพียงพอและสินค้าคง คลังได้มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงพอต่อความต้องการในการผลิตหรือไม่ การประสานงานระหว่างฝ่ายโลจิสติกส์และฝ่ายผลิตอย่างใกล้ชิดจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่ง

    

     สรุป กิจกรรมโลจิสติกส์ ถ้า มีการเชื่อมโยงกันให้ครบถ้วนทุกกิจกรรมแล้วย่อมทำให้เกิดประสิทธิผลใน อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีลักษณะกิจกรรมพื้นฐานที่แตกต่างกันตามลักษณะของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประเภทโครงสร้างขององค์กร ระดับการใช้กิจกรรมโลจิสติกส์ในแต่ละอุตสาหกรรมนั้น อาจจะเริ่มต้นจากกิจกรรมโลจิสติกส์บางกิจกรรม แล้วค่อยขยายผลกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านอื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร ดังนั้นแนวคิดของการบริหาร Logistics ในยุคปัจจุบัน ได้พยายามที่จะบูรณาการ (Integration)และเชื่อมโยงกิจกรรมในการดำเนินงานให้มีมาตรฐานของจัดการเดียว กัน ความเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นใน Logistics คือ การที่ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานนั้นและมีแนวคิดเดียวกันในการจัดการ ด้านเวลาและสถานที่ซึ่งในทุกกิจกรรมของการไหลระหว่างกระบวนการในกิจกรรมโลจิ สติกส์ ต้องทำให้แน่ว่ามีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ปริมาณถูกต้อง (Right Quantity ) คุณภาพที่ถูกต้อง (Right Quality ) สถานที่ถูกต้อง (Right Place) เวลาที่ถูกต้อง (Right Time ) ลูกค้าถูกต้อง (Right Customer) ราคาที่เหมาะสม (Right Price) ต้นทุนต่ำที่สุด (Right Cost )

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  3,847
Today:  3
PageView/Month:  4

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com